|
การป้องกันโรคติดต่อที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ.2567 <03/04/67>
ในขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยในตอนกลางวันบริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปต่อเนื่อง อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 35 องศาเซลเซียส และคาดว่าฤดูร้อนจะสิ้นสุดลงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2567 ซึ่งผลจากการเข้าสู่ฤดูร้อนอาจทำให้ประชาชนมีโอกาสป่วยจากโรคติดต่อต่างๆได้
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ ขอประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน โดยมีรายละเอียดตามภาพด้านบนนี้
|
|
|
|
|
2 เมษายน 2567 วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี <02/04/67>
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ |
|
|
|
|
การเฝ้าระวังและผลกระทบต่อสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก (Heat stroke) <01/04/67>
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ( Heatstroke ) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากโรคฮีทสโตรก เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ ขอประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน โดยมีรายละเอียดตามภาพด้านบนนี้
|
|
|
|
|
การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2566/67 <29/03/67>
ด้วยจังหวัดเชียงใหม่ได้รับแจ้งจากกรมการปกครองว่า กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2566/67 รอบที่ 2 เพื่อให้การดำเนินงานภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์และเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร
เทศบาลตำบลตลาดใหญ่จึงขอประชาสัมพันธ์การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2566/67 เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลตลาดใหญ่
โดยมีรายละเอียดตามลิงค์ด้านล่างนี้
https://drive.google.com/file/d/1v2WoRpmu5J37_mX6u8oQRnMusQEYlEfE/view?usp=sharing |
|
|
|
|
มูลนิธิแฮนด์ ทู พอว์ (Hand To Paw) กำหนดจัดหน่วยให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัขเคลื่อนที่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 <27/03/67>
ด้วยมูลนิธิแฮนด์ ทู พอว์ เพื่อสุนัขและแมว (Hand To Paw) ซึ่งเป็นมูลนิธิช่วยเหลือ ดูแลรักษาสุนัขและแมวจรจัด ได้จัดทำโครงการลดจำนวนสุนัขและแมวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้กำหนดจัดหน่วยให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัขเคลื่อนที่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567
โดยมี รายละเอียดการตรวจสอบและเตรียมสุนัขก่อนเข้ารับการทำหมัน ดังต่อไปนี้
1. ให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัขเพศเมียและเพศผู้ อายุ 4 เดือน 8 ปี จำนวน 70 ตัว โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
2. ไม่รับทำหมันสำหรับ สุนัขพันธุ์เล็ก หรือ พันธุ์หน้าสั้น เช่น ชิสุ พุดเดิ้ล ไซบีเรีย เฟรนบูลด๊อก บูลด๊อก มิเนเจอร์ ฯลฯ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง (สอบถามความเสี่ยงเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร 080-6731770)
3. สุนัขที่นำมาทำหมันต้องมีอาการปกติ ไม่ป่วย (ไม่ซึม หรือ มีอาการไม่ทานอาหารก่อนวัน ทำหมัน 1-2 วัน )
4. สุนัขที่สามารถผ่าตัดทำหมันได้ ต้องมีอายุ 4 เดือน 8 ปี และมีน้ำหนักตัว 10 - 25 กิโลกรัม
5. สุนัขที่นำมาทำหมัน ไม่ควรเป็นสัด เพราะจะทำให้เสียเลือดมาก
6. กรณีสุนัขแม่ลูกอ่อน ต้องรอหลังคลอดจนครบ 2 เดือน จึงจะเหมาะสมในการทำหมันให้แม่สุนัข
7. สุนัขที่ตั้งท้องไม่ควรนำมาทำหมัน
8. ให้งดน้ำงดอาหารสุนัข อย่างน้อย 8 ชั่วโมง (หลังเที่ยงคืน) ก่อนการทำหมัน (ถ้าสุนัขกินอาหารก่อนการผ่าตัด โดยไม่งดน้ำงดอาหารตามกำหนด อาจทำให้เศษอาหารติดคอ และเป็นอันตรายสำหรับสุนัข)
ในการนี้ เทศบาลตำบลตลาดใหญ่จึงขอประชาสัมพันธ์และรับลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่บัดนี้ วันที่ 5 เมษายน 2567 ได้ที่
1. งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ โทร. 053-042223-4
2. มูลนิธิแฮนด์ ทู พอว์ โทร. 080-6731770
3. ที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาลตำบลตลาดใหญ่ และ อสม. หมู่ที่ 1-5
ให้บริการผ่าตัดทำหมันสุนัขเคลื่อนที่ ณ ลานศาลาแปดเหลี่ยม เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567
รับบัตรคิวเข้ารับบริการ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 11.00 น. เท่านั้น |
|
|
|
|
เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การสำรวจและขึ้นทะเบียนประชากร สุนัข แมว เพื่อจัดหาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี 2567 โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ <26/03/67>
1. ให้ประชาชนแต่ละครัวเรือนสำรวจประชากรสุนัข แมว ของตนเองที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
2. สามารถขึ้นทะเบียนประชากร สุนัข แมว ณ สำนักงานเทศบาลตำบลตลาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2567
ตามช่องทางดังต่อไปนี้
แจ้งได้ที่ งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลตลาดใหญ่
แจ้งได้ที่ กำนันตำบลตลาดใหญ่และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน
แจ้งได้ที่ อสม.ประจำพื้นที่
แจ้งได้ที่ ช่องทาง Inbox Messenger เพจ Facebook เทศบาลตำบลตลาดใหญ่
โทรศัพท์แจ้งได้ที่เบอร์โทรสำนักงานเทศบาลตำบลตลาดใหญ่ 053-042223-4
กรอกข้อมูลตามคิวอาร์โค้ดด้านบนนี้ |
|
|
|
|
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ของคณะสงฆ์อำเภอดอยสะเก็ด ประจำปี ๒๕๖๗ (ปีที่ ๔๓) <25/03/67>
รับสมัครเยาวชนชาย อายุ ๑๑-๑๕ ปี หรือเกิดปี ๒๕๕๒-๒๕๕๖ ร่วมบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง
รับสมัครตั้งแต่วันที่ ๒๖ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์โครงการ
จำนวน ๙๙ รูป
กำหนดการบรรพชาวันที่ ๖ - ๒๐ เมษายน ๒๕๖๗
ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพผ้าไตรชุดละ ๘๐๐ บาท
#ร่วมทำบุญโอนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาดอยสะเก็ด ชื่อบัญชี "โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนอำเภอดอยสะเก็ด"
เลขที่บัญชี ๖๖๓-๔-๑๒๐๖๔-๑
#ติดต่อรับเป็นเจ้าภาพและสมัครบวชได้ที่
กองงานเลขานุการเจ้าคณะอำเภอดอยสะเก็ด
(พระปลัด สหรัฐ นนฺทเมธี)
โทร. ๐๙๖-๘๐๔๕๑๙๒ |
|
|
|
|
เตือนประชาชนให้ รู้-ลด-เลี่ยง ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาสุขภาพที่ต้องระวัง <15/03/67>
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษอากาศที่สำคัญของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องหลายปี ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการจราจร (ไอเสียรถยนต์) การเผาป่า การเผาเศษพืชผลทางการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม หมอกควันข้ามแดน ปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ภาวะความกดอากาศสูงที่ทําให้เกิดภาวะอากาศปิด
นอกจากนี้ยังเกิดจากการรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซต์ (SO2) และออกไซต์ของไนโตรเจน (NOx) รวมท้ังสารพิษอื่น ๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
.
ซึ่งผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มระดับความรุนแรงต่อสุขภาพร่างกายของเรา จากการสะสมของฝุ่นละอองภายในปอดเป็นระยะเวลายาวนาน โดยระดับของอาการจะรุนแรงแตกต่างกัน ดังนี้
.
1.ไอ จาม และภูมิแพ้ : พบได้เมื่อมีฝุ่นละอองเข้าไปสะสมในโพรงจมูกเวลาที่หายใจเข้าและออก ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองในจมูกและลำคอ มีเสมหะ ไอ จาม โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้จะมีอาการภูมิแพ้กำเริบได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
.
2.โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง : พบได้ในกรณีที่เป็นอาการไอต่อเนื่องนาน 3-8 สัปดาห์ขึ้นไป มีเสมหะเป็นสีขาว สีเหลือง หรือมีเลือดปน นอกจากนี้จะรู้สึกเกิดอาการเหนื่อย โดยอาจเพิ่มมากขึ้น กระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
.
3.โรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง : พบได้ในกรณีที่ฝุ่นละอองเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดและผนังหัวใจ อาการที่พบคือ มีอาการเจ็บหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่น เหนื่อยหรือแน่นขณะออกแรง ซึ่งอาจทำให้เป็นลม หมดสติ หรือเสียชีวิตได้
.
4.โรคปอดเรื้อรัง และมะเร็งปอด : พบได้ในกรณีที่สูดเอาฝุ่นละออง PM 2.5 สะสมเข้าไปเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมากหมดเรี่ยวแรง หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ซึ่งอาจรุนแรงและกลายเป็นเซลล์มะเร็งที่อาจลุกลามไปทั่วปอด เกิดเป็นโรคมะเร็งปอดได้
.
โดยฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อทุกคนที่พบเจอ และอาจเป็นอันตรายต่อกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มอาจเกิดโรคได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น เด็กเล็ก เด็กนักเรียน ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมถึงผู้ที่ต้องปฏิบัติงานหรือออกกำลังกายในสถานที่กลางแจ้ง เป็นต้น
#โรครว้ายๆวัยทำงาน ขอแนะนำ 3 แนวทางรับมือและป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่จำง่ายๆ มาฝากกับ รู้-ลด-เลี่ยง
.
รู้ : ตรวจสอบสภาพอากาศทุกครั้งก่อนเดินทางออกจากบ้าน ผ่านการติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในแอปพลิเคชัน Air4thai และเพจ คนรักอนามัย ใสใจ อากาศ PM 2.5 หรือติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ ของหน่วยงานด้านสาธารณสุข
.
ลด : ลดการสร้างมลพิษ ลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง PM 2.5 เช่น จุดธูป เผากระดาษ ปิ้งย่างท่ีทําให้เกิดควัน การเผาใบไม้ เผาขยะ เผาพืชผลทางการเกษตร เป็นตน รวมถึงการติดเครื่องยนต์ในบ้านเป็นเวลานาน
.
เลี่ยง : หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองสูง การอยู่กลางแจ้ง หรือทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานาน ในช่วงที่ฝุ่นละออง PM 2.5 มีปริมาณมากกว่า 26 - 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป โดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละอองในอากาศ
.
การป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 ด้วยแนวทางที่เหมาะสมจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ชีวิตและปฏิบัติงาน โดยเราควรความตระหนักและเฝ้าระวังสุขภาพอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากฝุ่นละออง ทั้งต่อตนเองและคนรอบตัวอีกด้วย ดังนั้น อย่าลืมแนวทาง รู้-ลด-เลี่ยง ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันกันด้วยนะคะ
.
#โรคหรืออาการที่เกิดจากการสัมผัสฝุ่นละอองไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ภายใต้ พ.ร.บ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
.
ที่มา : แนวทางมาตรการการเฝ้าระวังสุขภาพและสื่อสารความเสี่ยง เพื่อสร้างความรอบรู้ ที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5), กองโรคติดต่อจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
|
|
|
|
ประชาสัมพันธ์ เรื่อง เข้มงวดกวดขันและตรวจสอบการนำช้างเดินเร่ขายอาหารในชุมชน <13/03/67>
ด้วยกรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือในการเข้มงวดและตรวจสอบการนำช้างเดินเร่ขายอาหารในชุมชน เพื่อเป็นการป้องกันการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการทรุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และป้องกันการเกิดอันตรายที่เกี่ยวเนื่องจากการควบคุมช้างที่อาจส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
หากท่านใดพบเห็นการนำช้างเดินเร่ขายอาหารในชุมชน สามารถแจ้งได้ที่เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ หรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอดอยสะเก็ด โทร 080-8558890 |
|
|
|
|
ประกาศอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ เรื่อง ห้ามเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน <12/03/67>
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดเข้าไปในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
ยกเว้นในเขตบริการ เขตนันทนาการกลางแจ้ง และเขตพิเศษ
ห้ามเข้าโดยไม่มีเหตุอันควร ในท้องที่ตำบลป่าเมี่ยง ตำบลเทพเสด็จ ตำบลเชิงดอย ตำบลลวงเหนือ ตำบลดอยสะเก็ด
ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 30 เมษายน 2567
กรณีมีเหตุจำเป็นตามปกติธุระ ให้ลงทะเบียน ณ จุดตรวจ จุดเฝ้าระวังไฟป่า หรือหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ทุกหน่วย ทั้งนี้บุคคลซึ่งเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้สั่งให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดไว้ ผู้ใดไม่ปฏิบัติฯ มีความผิดตามมาตรา 20 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เครือข่ายอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า |
|
|